พฤติกรรมการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล ของนักศึกษาสาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ โรงเรียนลำปางพาณิชการและเทคโนโลยี Behavior in personal financial planning of The Students majoring in accounting, Faculty of Business Administration , Lampang College of Commerce and Technology. |
|||||||
บทคัดย่อ
ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล ของนักศึกษาสาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ โรงเรียนลำปางพาณิชการและเทคโนโลยี ประชากรที่ทำการศึกษา ได้แก่ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง จำนวนทั้งสิ้น 130 คน เครื่องมือที่ผู้ศึกษาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากร คือ แบบสอบถามและสังเกตการทำบัญชีส่วนบุคคล โดยวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผลการศึกษาพฤติกรรมการใช้เงินของนักศึกษา ในภาพรวม 3 ด้าน ภาพรวมของพฤติกรรมการใช้เงินมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับพอใช้ โดยพฤติกรรมการใช้เงินด้านการศึกษามีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเป็นลำดับแรก รองลงมาคือด้านนันทนาการและกิจกรรมทางสังคม สำหรับด้านความจำเป็นพื้นฐานเป็นลำดับสุดท้าย ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการใช้เงินของปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า พฤติกรรมการใช้เงินของเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยมากกว่าเพศชาย บิดาและมารดาของผู้ตอบแบบสอบถามที่เสียชีวิต มีค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการใช้เงินมากที่สุด รองลงมาอาชีพธุรกิจส่วนตัว ผู้ตอบแบบสอบถามที่อาศัยอยู่หอพัก มีค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการใช้เงินมากกว่าอาศัยอยู่บ้าน และอาศัยอยู่กับญาติพี่น้องมีค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการใช้เงินมากกว่า อยู่กับพ่อแม่และเพื่อน ส่วนผลการศึกษาการวางแผนการเงินส่วนบุคคล พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านการกำหนดเป้าหมายที่ต้องการ ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดเพียงด้านเดียว ด้านการวางแผนหาเงิน / เปลี่ยนงานความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง มีจำนวน 3 ด้าน คือ ด้านเริ่มเก็บเงินออม ด้านจัดสรรเวลาเพื่อหาความรู้และความเข้าใจในการลงทุน และด้านการบริหารภาระหนี้สิน ความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุดมีเพียงด้านเดียวคือ ด้านควบคุมการใช้จ่ายเงิน และผลของบันทึกบัญชีส่วนบุคคลพบว่า ระยะเวลา 1 เดือน รายรับส่วนใหญ่มาจาก รับเงินจากผู้ปกครอง อันดับสองจากเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา และรายได้จากการทำงานพิเศษเป็นอันดับสุดท้าย รายจ่ายส่วนใหญ่เป็นค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะ ค่าหอพัก ค่าโทรศัพท์ ค่าของใช้ เช่น สบู่ แป้ง ยาสีฟัน ผงซักผ้า ฯลฯ และค่ารักษาพยาบาล ตามลำดับ สรุป รายรับจำนวน ร้อยละ 100 มีรายจ่าย จำนวนร้อยละ 95.20 คงเหลือเงินออม ร้อยละ 4.80 |
|||||||
เอกสารแนบ
|
|||||||
|