หน้าแรก เข้าสู่ระบบ
       ปีการศึกษาที่นำเสนอ


       ปีงบประมาณ


       นักวิจัย
การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการทำกระถางเซรามิค กลุ่มบ้านป่ายะ ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
Costs And Return of Ceramic pots of Ban Pa Ya Group , Tambon Bohaeo, Amphoe Maueng , Lampang Province
นักวิจัย  อัจฉรา เฮ่ประโคน
ปีงบประมาณ  2563
ปีที่นำเสนอ  2563
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการทำกระถางเซรามิก   กลุ่มบ้านป่ายะ ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ  ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากผู้ทำกระถางเซรามิก  กลุ่มบ้านป่ายะ ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง  จำนวน  20  ราย  

 ผลการศึกษาพบว่า  ต้นทุนของการทำกระถางเซรามิก ต่อหน่วย ประกอบด้วย วัตถุดิบ  2  บาทต่อหน่วย  คิดเป็นร้อยละ 5.53     ค่าแรงงาน 31.50  บาทต่อหน่วย  คิดเป็นร้อยละ  87.14   ค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่  0.36  บาทต่อหน่วย  คิดเป็นร้อยละ  1.00   และค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปร  2.29  บาทต่อหน่วย  คิดเป็นร้อยละ  6.33   รวมต้นทุนการทำกระถางเซรามิกต่อหน่วย เท่ากับ  36.15  บาท  โดยรายได้จากการจำหน่ายกระถางเซรามิกต่อวัน เท่ากับ  2,360 บาท  ต้นทุนในการทำต่อวัน  1,446  บาท  คิดเป็นกำไรขั้นต้นจากการจำหน่ายต่อวัน เท่ากับ  914บาท   อัตราส่วนกำไรขั้นต้นต่อยอดขายร้อยละ  38.73  รายได้จากการจำหน่ายกระถางเซรามิกต่อเดือน เท่ากับ  51,920  บาท  ต้นทุนในการทำต่อเดือน  31,812  บาท  คิดเป็นกำไรขั้นต้นจากการจำหน่ายต่อเดือน เท่ากับ  20,108  บาท   อัตราส่วนกำไรขั้นต้นต่อยอดขายร้อยละ 38.73  รายได้จากการจำหน่ายกระถางเซรามิกต่อปี เท่ากับ  623,040  บาท ต้นทุนในการทำต่อปี เท่ากับ  381,744  บาท  คิดเป็นกำไรขั้นต้นจากการจำหน่ายต่อปี เท่ากับ  241,296  บาท   อัตราส่วนกำไรขั้นต้นต่อยอดขายร้อยละ 38.73  ทำให้การลงทุนทำกระถางเซรามิก  มีจุดคุ้มทุนต่อวันเท่ากับ   36.60  บาท มีจุดคุ้มทุนต่อเดือนเท่ากับ  805.31  บาท และมีจุดคุ้มทุนต่อปีเท่ากับปี  9,663.69  บาท

 

คำหลัก : ต้นทุน, ผลตอบแทน, กระถางเซรามิก

 

 

 เอกสารแนบ
      1. บทที่ 1 บทนำ
      2. บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแก้ไข
      3. บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
      4. บทที่ 4 ผลการวิจัย
      5. บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล
      6. บรรณานุกรม