หน้าแรก เข้าสู่ระบบ
       ปีการศึกษาที่นำเสนอ


       ปีงบประมาณ


       นักวิจัย
การจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของกิจการ โรงโม่หิน : กรณีศึกษาห้างหุ้นส่วนจำกัดศรีวิเศษ99
Human Resource Management affecting work efficiency of Stone Mill Factory : A Case Study of Sri Viset 99 Limited Partnership
นักวิจัย  ดาวเดือน โลหิตปุระ
ปีงบประมาณ  2560
ปีที่นำเสนอ  2560
บทคัดย่อ

 

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของกิจการโรง   โม่หิน : กรณีศึกษาห้างหุ้นส่วนจำกัดศรีวิเศษ99 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือพนักงานห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีวิเศษ 99 ทั้งหมดทุกระดับจำนวน 99 ราย โดยการใช้แบบสอบถาม ใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของกิจการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (?=4.17) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การประเมินผลการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (?=4.24)รองลงมา การสรรหาและการคัดเลือกบุคลากรมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (?=4.19)การวางแผนอัตรากำลังมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (?=4.18)การพัฒนาพนักงานมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (?=4.16)ขวัญและกำลังใจมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (?=4.13) และการจ่ายค่าตอบแทนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (?=4.11)ส่วนระดับความคิดเห็นของประสิทธิภาพการทำงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (?=4.28) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านความสำเร็จในงานที่ทำมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (?=4.35)รองลงมา ด้านปริมาณงานที่ทำมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (?=4.25)และด้านคุณภาพงานที่ทำมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (?=4.24)การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานห้างหุ้นส่วนจำกัดศรีวิเศษ 99โดยรวม ของพนักงาน มีค่าอยู่ระหว่าง .015 - .480 โดยพบว่า การประเมินผลการปฏิบัติงานมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานโดยมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ส่วน การวางแผนอัตรากำลัง การสรรหาและการคัดเลือกบุคลากร การพัฒนาพนักงาน การจ่ายค่าตอบแทน ขวัญและกำลังใจ ที่มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิต

 

คำสำคัญ:การจัดการทรัพยากรมนุษย์, ประสิทธิภาพการทำงาน

ABSTRACT

The objective of this study was to study human resource management affecting work efficiency of stone mill factory: case study of Sri Viset 99 Limited Partnership. This is a quantitative research; the sample population was the employees who are working at Sri Viset 99 Limited Partnership in all level as a group of total 99 respondents. This research was conducted by constructing a questionnaire. The statistics used in data analysis includes average, percentage, standard deviation, multiple linear regressions. The results of the research found that the scale of opinions towards human resource management affecting work efficiency shows as overall is on high level with an average score of (?=4.17). When considered on a case-by-case basis raging in order from highest to lowest value were as follows: performance appraisal with an average score of (?=4.24);  recruitment and selection with an average score of (?=4.19); manpower planning with an average score of (?=4.18); personnel development with an average score of (?=4.16); motivation and encouragement with an average score of (?=4.13); remuneration with an average score of (?=4.11); opinions towards work efficiency were on high level as overall with an average score of (?=4.28). When considered on each factor raging in order from highest to lowest value was as follows: work accomplishment with an average score of (?=4.35); followed by workload with an average score of (?=4.25); and work quality with an average score of (?=4.24). Multiple linear regression analysis shows that the Correlation coefficient value of human resource management affecting work efficiency of stone mill factory : case study of Sri Viset 99 Limited Partnership was between .015 and .480 found that performance appraisal affected work efficiency of the employees in a positive relationship with statistically significant level at .05. On the other hand, manpower planning, recruitment and selection, remuneration, motivation and encouragement show a positive relationship with not statistically significant.

 

Keywords: human resource management, work efficiency

 เอกสารแนบ
      1. บทที่ 1
      2. บทที่ 2
      3. บทที่ 3
      4. บทที่ 5 อภิปรายผล
      5. บทที่-4