หน้าแรก เข้าสู่ระบบ
       ปีการศึกษาที่นำเสนอ


       ปีงบประมาณ


       นักวิจัย
ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวใน จังหวัดลำปาง
Marketing mix factors affecting tourism behavior of tourists who travel to travel in Lampang Province.
นักวิจัย  ดาวเดือน อินเตชะ
ปีงบประมาณ  2563
ปีที่นำเสนอ  2565
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวใน จังหวัดลำปาง เครื่องมือที่ใช้ในการการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามและนำข้อมูลที่รวบรวมได้ประมวลผลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย Correlation และMultiple Regression Analysis ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวใน จังหวัดลำปาง โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง (?=3.45) เมื่อวิเคราะห์เป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเป็นอันดับแรก ได้แก่ ท่านใช้วิธีการติดต่อสำรองที่พักในการมาท่องเที่ยวโดยระบบออนไลน์ (social network) (?=4.67) รองลงมา ลักษณะของการเดินทางมาเที่ยวมาโดยรถยนต์ส่วนตัว (?=4.46)  มีวัตถุประสงค์ในการมาท่องเที่ยว เพื่อมาพักผ่อน หลีกหนีความจำเจในชีวิต เยี่ยมญาติ/เพื่อน หรือท่องเที่ยวตามเทศกาลต่างๆ (?=4.45)   เวลาในการมาท่องเที่ยว คือ วันหยุด ลาพักร้อน หยุดเทศกาล  (?=4.44) ที่ท่านเดินทางมาท่องเที่ยวกับ แฟน เพื่อน (?=4.12)

          ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด โดยรวมอยู่ในระดับมาก (?=4.28) เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ (?=4.38) รองลงมา ด้านราคา (?=4.29) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (?=4.26) และ ด้านการส่งเสริมทางการตลาด (?=4.17) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ในทุกด้าน อิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมทางการตลาด อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

 เอกสารแนบ
      1. บทที่ 1 บทนำ
      2. บทที่ 2
      3. บทที่ 4 ผลการวสิเคราะห์ข้อมูล
      4. บทที่ 5 อภิปรายผล
      5. บทที่-3ระเบียบวิธีวิจัย