การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนผลิตภัณฑ์จักสานไผ่ด้วยเครื่องจักรและแรงงาน : กรณีศึกษา จักสานสุปราณี อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง Comparison of the costs and returns of woven bamboo product with woven machinery and labor: A case study of woven Supranee Muang Lampang |
|||||||
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนผลิตภัณฑ์จักสานไผ่ด้วยเครื่องจักรและแรงงาน กรณีศึกษาจักสาน สุปราณี อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ประกอบการจักสานไผ่ แรงงาน จำนวน 3 คน เกี่ยวกับข้อมูลการผลิตเข่งสานไม้ไผ่สำหรับใช้บรรจุเซรามิค รวมทั้งให้ผู้ประกอบการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายตามแบบฟอร์มบัญชีรายรับ-รายจ่ายที่ออกแบบโดยคณะบัญชี วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง เป็นระยะเวลา 4 เดือน ผลการศึกษาพบว่า กรณีใช้เครื่องจักร มีต้นทุนการผลิตต่อหน่วย เท่ากับ 13.81 บาท ผลกำไรสุทธิประจำปีเท่ากับ 155,988 บาท สำหรับกรณีกิจการใช้แรงงาน มีต้นทุนการผลิตต่อหน่วย เท่ากับ 18.75 บาท ผลกำไรสุทธิประจำปี 22,500 บาทและจากการเปรียบเทียบต้นทุนผลตอบแทนของผู้ประกอบกิจการจักสานไผ่ ระหว่างการใช้เครื่องจักรกับการใช้แรงงานพบว่าผู้ประกอบการควรลงทุนในเครื่องจักรเนื่องจากทำให้ระยะเวลาคืนทุนสั้น คือ 3 เดือน 16 วัน และผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 346.64 และมูลค่าปัจจุบันสุทธิเพิ่มขึ้น เป็น 577,860.08 บาทและจุดคุ้มทุนลดลง เป็น 869.78 บาทต่อเดือน
|
|||||||
เอกสารแนบ
|
|||||||
|