หน้าแรก เข้าสู่ระบบ
       ปีการศึกษาที่นำเสนอ


       ปีงบประมาณ


       นักวิจัย
แรงจูงใจและส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ เซรามิกของจังหวัดลำปาง
Incentives and marketing mix that influence product purchase decisions Ceramics of Lampang Province
นักวิจัย  ดาวเดือน อินเตชะ
ปีงบประมาณ  2564
ปีที่นำเสนอ  2565
บทคัดย่อ

 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแรงจูงใจและส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เซรามิกของจังหวัดลำปาง เป็นวิจัยเชิงสำรวจ โดยการใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 400 คน ใช้สถิติเชิงพรรณา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงอนุมาน การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20-30 ปี รายได้ต่อเดือนส่วนใหญ่มีรายได้ 10,00020,000 บาท และอาชีพส่วนใหญ่อาชีพพนักงานเอกชน ส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์เซรามิกที่มักจะซื้อบ่อยที่สุดคือ อุปกรณ์เครื่องครัว ค่าใช้จ่ายที่ซื้อผลิตภัณฑ์เซรามิกในแต่ละครั้ง 100500 บาท ส่วนความคิดเห็นแรงจูงใจของผู้บริโภคในการเลือกซื้อเซรามิก อยู่ในระดับมาก (?=4.07) เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเป็นอันดับแรก ได้แก่ แรงจูงใจด้านอารมณ์ (?=4.09) รองลงมา แรงจูงใจด้านเหตุผล (?=4.05) ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดโดยรวม อยู่ในระดับมาก (?=4.09) เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (?=4.25) รองลงมา ด้านราคา (?=4.09) ด้านผลิตภัณฑ์ (?=4.05) และ ด้านการส่งเสริมการตลาด (?=3.98)

ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของแรงจูงใจและส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เซรามิกของจังหวัดลำปาง มีความสัมพันธ์กัน และมีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกัน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และอิทธิพลของแรงจูงใจและส่วนประสมทางการตลาดส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เซรามิกของจังหวัดลำปาง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

 เอกสารแนบ
      1. อินทนินทักษิณสาร_17_2-3(2)
      2. เล่มรวม