การรู้เท่าทันสื่อเฟซบุ๊กของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ Chiang Mai Rajabhat University Students? Media Literacy in Facebook Use |
|||
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ (Abstract)
บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อเฟซบุ๊ก 2) เพื่อศึกษาการรู้เท่าทันสื่อสื่อเฟซบุ๊ก 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อเฟซบุ๊กกับการรู้ เท่าทันสื่อเฟซบุ๊ก กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีที่ 1–4 จำนวน 400 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิตที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ลักษณะทางประชากรพบว่าเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุ 22 ปี รายได้ที่ได้รับเฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท
พฤติกรรมการใช้สื่อเฟซบุ๊ก พบว่ากลุ่มตัวอย่างใช้เฟซบุ๊กทุกวัน 7 วัน การใช้งาน 4-5 ชั่วโมง ในช่วงเวลาก่อนนอน ช่วงเวลาที่ใช้งานช่วงเวลา 18.01-21.00 น. ใช้งานที่บ้าน/ที่พัก วัตถุประสงค์ในการใช้สื่อ เฟซบุ๊กใช้ในการติดต่อสื่อสาร ผู้ที่มีอิทธิพลในการใช้สื่อเฟซบุ๊กกลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลในการใช้สื่อเฟซบุ๊กมากที่สุด
ระดับการรู้เท่าทันสื่อเฟซบุ๊ก มากที่สุด คือ ทักษะการวิเคราะห์และทักษะการประเมินเนื้อหาสารรองลงมา ได้แก่ ทักษะการเข้าถึง ทักษะการมีส่วนร่วม และทักษะการสร้างสรรค์ ตามลำดับ
ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อเฟซบุ๊กกับการรู้เท่าทันสื่อเฟซบุ๊ก พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างระดับความบ่อยมีความสัมพันธ์กับการรับรู้เท่าทันสื่อเฟซบุ๊กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วน ระยะเวลา ช่วงเวลา สถานที่ วัตถุประสงค์ในการใช้สื่อเฟซบุ๊กไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้เท่าทันสื่อเฟซบุ๊ก
|
|||
เอกสารแนบ
|
|||
|