การอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาการทอผ้าฝ้ายลายงาขี้ม้อน อ.แม่ทะ จ.ลำปาง Conservation and Development of Cotton Weaving Wisdom of Nga Khi Mon Pattern, Maetha District, Lampang Province |
|||||||
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทและภูมิปัญญาการทอผ้าฝ้ายลายงาขี้ม้อน 2) เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาการทอผ้าฝ้ายลายงาขี้ม้อน 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการอนุรักษ์และพัฒนาการทอผ้าฝ้ายลายงาขี้ม้อน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักครั้งนี้ คือ ประธานกลุ่ม ปราชญ์ชาวบ้าน เจ้าหน้าที่ภาครัฐ และกลุ่มสมาชิก จำนวน 20 คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการสังเกต แบบบันทึกการสนทนากลุ่มย่อย การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า การทอผ้าฝ้ายลายงาขี้ม้อนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่มีประวัติอันยาวนานมีการถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์โดยใช้การบอกเล่าและการให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพการทอผ้าฝ้าย มีการส่งเสริมการสร้างเครือข่าย
แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญา พบว่า ควรมีการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ การจัดหลักสูตรการทอผ้าให้กับสถาบันการศึกษาเพื่อให้ช่วยสืบสานและสืบทอดและบรรจุเป็นหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอน ส่งเสริมการบันทึกกระบวนการทอผ้าเพื่อเป็นหลักฐานและถ่ายทอดภูมิปัญญาอันล้ำค่าของบรรพบุรุษ หรืออาจจะมีกลุ่มนายทุนรับสินค้าไปตัดและออกแบบเนื่องจากทางกลุ่มไม่มีความเชี่ยวชาญด้านการตัดเย็บและการออกแบบเพื่อให้ภูมิปัญญาดังกล่าวคงอยู่สืบไป
ปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการอนุรักษ์และพัฒนาพบว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้การสนับสนุนด้านความรู้ความเข้าใจ ทักษะ วัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณให้เหมาะสม ขาดการสืบทอดจากเด็กรุ่นใหม่ในชุมชน รวมถึงขาดการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง |
|||||||
เอกสารแนบ
|
|||||||
|