หน้าแรก เข้าสู่ระบบ
       ปีการศึกษาที่นำเสนอ


       ปีงบประมาณ


       นักวิจัย
แนวทางการพัฒนาโฮมสเตย์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
Homestays Development for Supporting Tourism of Wo?Keaw Community, Hang Chart in Lampang Provice
นักวิจัย  พิมพ์พิศา จันทร์มณี
ปีงบประมาณ  2561
ปีที่นำเสนอ  0
บทคัดย่อ

 

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพการตลาดบริการของโฮมสเตย์ที่ได้ รับรองมาตรฐานในชุมชนวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคด้านการตลาดบริการของ    โฮมสเตย์ที่ได้รับรองมาตรฐานในชุมชนวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง และ 3) เพื่อให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพการตลาดบริการแก่ผู้ประกอบการโฮมสเตย์ที่ได้รับรองมาตรฐานในชุมชนวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ กลุ่มผู้ จำนวน 9 ราย กลุ่มผู้ปฏิบัติ จำนวน 22 ราย และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป จำนวน 25 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เชิง เนื้อหารับรองมาตรฐานมีศักยภาพการตลาดบริการผลการวิจัย พบว่า 1) โฮมสเตย์ที่ได้รับการบริการ ครอบคลุมทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและ การกระจายสินค้า ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการและด้านลักษณะทาง กายภาพ ตามกรอบมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย ปัญหาและอุปสรรคด้านการตลาดบริการของโฮมสตย์ ได้แก่ การปรับปรุงคุณภาพพักและบริการยังสู้กับเอกชนไม่ได้ ทำได้ง่ายนักเนื่องจากมีราดใกล้เคียงกับ คู่แข่งสถานที่ตั้งของกลุ่มโฮมสตย์ตั้งอยู่ในพื้นที่ชนบทควรเดินทางไม่สะดวกในบางฤดูกาล ช่องทางที่ ใช้ในการติดต่อส่วนใหญ่ผ่านทางโทรศัพท์บางครั้งไม่สมารถติดต่อได้ การส่งเสริมการตลาดยังคง อาศัยหน่วยงานจกภาครัฐช่วยเหลือในการจัดทำใบปลิวและฝากเวปไซต์ไว้กับหน่วยงานต่างๆ บุคลากรบางส่วนยังขาดความรู้และมีจำนวนไม่เพียงพอในกรบริการนักท่องเที่ยว ด้านกระบวนการ ชุมชนบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการ การดำเนินงาน หรือการสร้างรายได้จาก บริการอื่นๆ ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพเป็นพื้นที่ชนบท ห่างไกลสิ่งอำนวยความสะดวก บ้านพักและ สถานที่ท่องเที่ยวอยู่ไกลกันการเดินทางจึงต้องใช้เวลามาก 3) ข้อเสนอแนะในการพัฒนาศักยภาพการตลาดบริการของโฮมสเตย์ สมาชิกควรมีการ พัฒนาที่พักให้มีมาตรฐานอยู่เสมอ มองหาอัตลักษณ์ของกลุ่มเพื่อสร้างความแตกต่างด้านบริการ เช่น อาหาร กิจกรรม สถานที่ท่องเที่ยวเพื่อให้สามารถแข่งขันด้านราคากับคู่แข่งได้ ทั้งนี้ควรเพิ่งช่องทางใน การติดต่อให้มากขึ้นเช่น website email หรือกลุ่มต่างๆ ควรเพิ่มป้ายบอกทางให้ชัดเจน ส่วนการ ส่งเสริมการตลาดควรคิดราคาโดยรวมหลายๆอย่างให้แก่กลุ่มนักท่องเที่ยว การหาทางร่วมมือกับ หน่วยงานภาครัฐในการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ ด้นบุคลากรควรส่งเสริมให้สมาชิกเห็นความสำคัญ ของการอนุรักษ์วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ และสามารถสื่อสารแก่ นักท่องเที่ยวได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งการพัฒนาบุคลากรในชุมชนให้เกิดความรู้ในการบริหาร การดำเนินงานและการให้บริการของโฮมสเตย์ การพัฒนาสภาพแวดล้อมของโฮมสเตย์ เช่น สถานที่ พักผ่อน นั่งเล่น สถานที่ทำกิจกรรมร่วมกันของคนในชุมชน และสถานที่ให้สะอาดและปลอดภัย การอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดส้อมเพื่อการพัฒนาการผ่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน

 เอกสารแนบ
      1. วิจัยโฮมเสตย์สมบูรณ์