โครงการติดตาม ประเมินผล และเสนอรูปแบบการรณรงค์เพื่อขับเคลื่อน ประเด็นสาธารณะของแผนงานมูลนิธิเมาไม่ขับ ชมรมคนห่วงหัว และสานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ - |
|||
บทคัดย่อ บทสรุปสาหรับผู้บริหาร งานวิจัยเรื่อง “โครงการติดตาม ประเมินผล และเสนอรูปแบบการรณรงค์เพื่อขับเคลื่อน ประเด็นสาธารณะของแผนงานมูลนิธิเมาไม่ขับ ชมรมคนห่วงหัว และสานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ” มี วัตถุประสงค์ในการศึกษาได้แก่ 1. เพื่อสังเคราะห์ กระบวนการทางาน ผลผลิตและผลลัพธ์จากการดาเนินงานของสานักงาน เครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) และมูลนิธิเมาไม่ขับในรอบ10 ปี (2549 – 2558) 2. เพื่อติดตามกิจกรรมการดาเนินงานตามกรอบยุทธศาสตร์ของสานักงานเครือข่ายลด อุบัติเหตุ (สคอ.) และมูลนิธิเมาไม่ขับ ในปี 2558 3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่นาไปสู่ความสาเร็จของการดาเนินงานของ สานักงานเครือข่ายลด อุบัติเหตุ (สคอ.) และมูลนิธิเมาไม่ขับ ในปี 2558 4. เพื่อประเมินการเรียนรู้ในการประสานงานองค์กร การแก้ปัญหา การประสานงานภาคี และการสร้างการมีส่วนร่วมของสานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) และมูลนิธิเมาไม่ขับ ในปี 2558 5. เพื่อประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของการรณรงค์ของสานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) และมูลนิธิเมาไม่ขับ ในปี 2558 6. เพื่อจัดทารูปแบบรณรงค์ขับเคลื่อนประเด็นสาธารณะ(ลดอุบัติเหตุ สวมหมวกกันน็อก และเมาไม่ขับ) จากบทเรียนทั้งต่างประเทศและในประเทศ เพื่อเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อ สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ โดยวิธีการศึกษาการดาเนินงาน “โครงการติดตาม ประเมินผล และเสนอรูปแบบการรณรงค์ เพื่อขับเคลื่อนประเด็นสาธารณะของแผนงานมูลนิธิเมาไม่ขับ ชมรมคนห่วงหัว และสานักงานเครือข่าย ลดอุบัติเหตุ”มีระยะเวลาดาเนินการ 1 ปี (มิ.ย. 58 – พ.ค. 59) โดยผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)ดังต่อไปนี้ มูลนิธิเมาไม่ขับและชมรมคนห่วงหัวในมูลนิธิเมาไม่ขับ จากการศึกษาการดาเนินงานของมูลนิธิเมาไม่ขับใน “โครงการประเมินผลแผนงานมูลนิธิเมา ไม่ขับ มูลนิธิเมาไม่ขับ และสานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ” ซึ่งมีระยะเวลาดาเนินการ 1 ปี (มิ.ย. 58 – พ.ค. 59) คณะผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการแจกแบบสอบถาม (Questionnaires) วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึก (In- Depth Interview) กับกลุ่มเป้าหมาย และการสังเกตการณ์กิจกรรมรณรงค์ของมูลนิธิเมาไม่ขับ โดยภาพรวมผลงานที่มูลนิธิเมาไม่ขับดาเนินงานตามยุทธศาสตร์ทั้ง 4 ด้าน พบว่า 1.ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเฝ้าระวังการบังคับใช้กฎหมาย สามารถขับเคลื่อนในประเด็น สาคัญ ได้แก่ 1.) เมาแล้วขับ = อุบัติเหตุ ประมาทหรือเจตนา 2.) เมาปรับจับขัง ซึ่งได้ดาเนินการจัด เวทีสัมมนาโดยผูกโยงกับเหตุการณ์ที่เป็นปัจจุบัน เช่น เหตุการณ์นักปั่นจักรยาน 3 ราย ถูกคนเมาขับรถ ชนเสียชีวิต 2.ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาเครือข่ายและกลไก มูลนิธิเมาไม่ขับสามารถสนับสนุนงานของ ศูนย์ประสานงานเครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับในระดับจังหวัด และเครือข่ายเดิมรวมทั้งมีการประสานการ 9 เปิดศูนย์ฯ ได้แก่ จังหวัดสระแก้ว นอกจากนี้ยังร่วมกับเครือข่ายใหม่ คือ มูลนิธิรัฐบุรุษฯ โดยการมอบ รางวัลเกียรติยศ สาหรับจังหวัดที่มีการรณรงค์ ทั้งนี้การประชาสัมพันธ์ของมูลนิได้สนับสนุนเครือข่ายใน เทศกาลสาคัญๆ เช่น สงกรานต์ ปีใหม่ ลอยกระทง และเทศกาลประจาท้องถิ่น อย่างต่อเนื่อง 3.ยุทธศาสตร์ด้านการรณรงค์และการสื่อสารประชาสัมพันธ์ เป็นยุทธศาสตร์เด่นของ มูลนิธิฯ มีการดาเนินการด้านการรณรงค์อย่างต่อเนื่องและถือเป็นจุดเด่นของงานเมาไม่ขับในปีที่ผ่านมา โดยมี การลงพื้นที่ทั้งกรุงเทพและต่างจังหวัดอย่างต่อเนื่องทั้งในช่วงเทศกาลและไม่ใช่เทศกาล โดยมีจุดเด่นใน การดึงประเด็นสาคัญได้แก่ รณรงค์ปีใหม่ตายเป็นศูนย์ เป่าก่อนขับ กลับบ้านปลอดภัย งานสงกรานต์ ปลอดภัย* เมาไม่ขับ*หยุดตาย*หยุดพิการ* นอกจากนี้ยังพบว่าผู้นาองค์กร นายแพทย์แท้จริง ศิริ พานิชย์ เป็นผู้นาองค์กร มีบทบาททางสังคม สามารถ สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายในวงการที่เกี่ยวกับ ความปลอดภัยทางถนนทุกระดับ โดยเฉพาะการสื่อสารผ่านสื่อมวลชนกระแสหลักทุกช่อง สามารถดึง ประเด็นในการบูรณาการกับนายกรัฐมนตรี มีบทบาทชัดเจนในภาคนโยบายระดับชาติ เช่น สนับสนุน รัฐบาลยกเว้นภาษีกล้องติดรถยนต์ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ สนับสนุนรัฐบาลยึดรถเมาแล้วขับตลอดปี (ไม่ใช่เฉพาะช่วงเทศกาล) 4.ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาบุคลากร มีบุคลากรที่ทางานอย่างเต็มที่และมีใจที่ทุ่มเทกับงาน ประสบการณ์การทางานที่มีมานานความสามารถเฉพาะตัวของผู้จัดการมูลนิธิถือว่า ได้รับความ ประทับใจและได้รับการชื่นชมผู้ร่วมงานและเครือข่ายที่ร่วมกิจกรรม อย่างไรก็ดีเนื่องจากเป็นองค์กรไม่ แสวงหากาไรขนาดเล็กทาให้การกระจายของทีมงาน จึงมุ่งสู่ผู้รับผิดชอบหลักคือ ผู้จัดการมูลนิธิ เมื่อเทียบสัดส่วนเชิงปริมาณ จากกิจกรรมต่อเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ พบว่า ผลการ ดาเนินงานเมาไม่ขับ ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเฝ้าระวังการบังคับใช้กฎหมาย คิดเป็น 36% ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาเครือข่ายและกลไก คิดเป็นร้อยละ 11 ยุทธศาสตร์ด้านการรณรงค์และการ สื่อสารประชาสัมพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 27 และยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาบุคลากร คิดเป็นร้อยละ 26 ทางด้านชมรมคนห่วงหัวในมูลนิธิเมาไม่ขับ พบว่าได้ดาเนินการผ่านเครือข่ายสถานศึกษา สถานประกอบการ และชุมชน โดยมีการจัดกิจกรรม “ใส่หมวกให้น้อง” “นาของเล่นมาแลกหมวก” “ผู้สูงวัยห่วงหัวลูกหลาน” และ “ผู้ว่าห่วงหัว” ซึ่งผลการดาเนินงาน มีรณรงค์ประชาสัมพันธ์ในรูปแบบ ต่างๆ เพื่อให้เกิดกระแสในสังคม คิดเป็นร้อยละ 80 การสารวจข้อมูลเพื่อการรณรงค์และการ จัดทา ฐานข้อมูล คิดเป็นร้อยละ 7 การสร้างเครือข่ายและพัฒนากลไก คิดเป็นร้อยละ 10และการขับเคลื่อน ให้เกิดนโยบายหรือมาตรการ คิดเป็นร้อยละ 3 ผลการศึกษาพบปัจจัยที่นาไปสู่ความสาเร็จของมูลนิธิเมาไม่ขับ ได้แก่ มูลนิธิเมาไม่ขับเป็น เป็นองค์กรไม่แสวงหากาไรทางานมามากกว่า 20 ปี เป็นองค์กรที่มีชื่อเสียงและแบรนด์ที่แข็งแกร่ง สามารถสื่อสารผ่านประเด็นทางสังคมที่ทันสมัยสอดรับกับสถานการณ์อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ผู้นา องค์กรเป็นผู้ มีบทบาททางสังคมสูง สามารถประสานงานระหว่างภาคีภาครัฐ ภาคเอกชน และเป็นผู้นา การเปลี่ยนแปลงขับเคลื่อนนโยบาย นอกจากนี้ยังมีจุดเด่นในด้านการสื่อสารผ่านสื่อกระแสหลัก เช่น โทรทัศน์ในช่องหลักๆ (ช่อง 3 ช่อง5 ช่อง7 ช่อง9 และทีวีดิจิทอล วิทยุ ตลอดจนสื่อสังคมออนไลน์) ผลการประเมินการเรียนรู้ในการประสานงานขององค์กร การแก้ปัญหา การประสานงาน ภาคี และการสร้างการมีส่วนร่วมพบว่า สามารถเกิดการประสานงานร่วมกับองค์กรต่างๆ ในหลาย รูปแบบ เช่น ประสานงานและเกิดการเรียนรู้กับหน่วยงานทางกฎหมาย (ผู้พิพากษา) ประสานงานกับ 10 องค์กรด้านภาคยานยนต์ ภาคการจราจรและขนส่ง ที่สอดรับและเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางถนน ในทุกระดับ ด้านการเรียนรู้กับภาคีและเครือข่าย มูลนิธิเมาไม่ขับสามารเรียนรู้กับกรมคุมประพฤติ สานักงานคนพิการ บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัย โดยได้รับการสนับสนุนทั้งเงินทุน การผลิตสื่อ รณรงค์และการจัดกิจกรรม กระบวนการเรียนรู้ด้านการมีส่วนร่วมพบว่าได้มีการจัดสัมมนาพัฒนา บุคลากรและมอบทุนให้กับเครือข่ายที่ดาเนินงานประสบผลสาเร็จ เช่น กิจกรรมมอบโล่ห์เกียติยศให้แก่ จังหวัดที่ประสบความสาเร็จ โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิรัฐบุรุษฯ ผลการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการรณรงค์ของมูลนิธิเมาไม่ขับ พบว่า 1.) ประชาชนส่วนใหญ่รู้จักและคุ้นเคยมูลนิธิเมาไม่ขับร้อยละ 83.30 ซึ่งถือว่ามีจานวนมาก แต่กับพบว่า รู้จักและคุ้นเคยกับชมรมคนห่วงหัวในมูลนิธิเมาไม่ขับเพียงแค่ ร้อยละ 8.10 ซึ่งถือว่ายังไม่เป็นที่รู้จัก ช่องทางที่รู้จักมูลนิธิเมาไม่ขับส่วนใหญ่รู้จักผ่านช่องทางโทรทัศน์ รองลงมาคือสื่อวิทยุ และเฟชบุ๊ค ผู้ตอบแบบสอบถามเข้าร่วมกิจกรรมกับมูลนิธิเมาไม่ขับมากที่สุด คือ โครงการถนนปลอดภัยจากเมาไม่ ขับร่วมกับกรมคุมประพฤติ รองลงมาอบรมหลักสูตรนักรณรงค์เมาไม่ขับ ประชาชนผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เคยเข้าร่วมกิจกรรมกับชมรมคนห่วงหัวในกิจกรรม “ใส่หมวกให้น้อง” รองลงมา กิจกรรม “ผู้ว่าห่วงหัว” และช่วงเทศกาลที่ประชาชนส่วนใหญ่เคยร่วมกิจกรรมรณรงค์ของมูลนิธิเมาไม่ขับในช่วง เทศกาลปีใหม่ และเทศกาลสงกรานต์ สื่อรณรงค์ของมูลนิธิเมาไม่ขับที่ประชาชนชอบมากที่สุด คือ สติก เกอร์ โดยเหตุผลที่ชอบสติกเกอร์ เพราะมีความชัดเจน เข้าใจง่ายทั้งข้อความและสัญญลักษณ์ มองเห็น ภาพชัดเจน สามารถเตือนสติได้ดี และสื่อความหมายได้ดี ประชาชนมีความคิดเห็นว่าเป้าหมายสาคัญ ในการขับเคลื่อนมูลนิธิเมาไม่ คือ การบังคับใช้กฎหมาย ควบคู่ไปกับกิจกรรมสื่อสารรณรงค์ของมูลนิธิ เมาไม่ขับ ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้รัฐบาลออกกฎหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ แล้วขับรถเพิ่มเติมในประเด็นบังคับใช้กฎหมายให้เข้มข้นขึ้นและให้รุนแรงขึ้น เช่น ยึดรถ 3 เดือน ยึด ใบอนุญาตขับขี่ 6 เดือน ปรับให้สูงขึ้น ห้ามขับรถ และจับขังทันที 2.) ภาคีเครือข่าย ส่วนใหญ่เข้าร่วม เป็นเครือข่ายของมูลนิธิเมาไม่ขับมาแล้ว 1-5 ปี กิจกรรมที่เข้าร่วมกับมูลนิธิมากที่สุดคือโครงการถนน ปลอดภัยจากเมาไม่ขับร่วมกับกรมคุมประพฤติ และโครงการถนนปลอดภัย อาทิ ร่วมลงนามประกาศ เจตนารมณ์จัดตั้งองค์กรเพื่อถนนปลอดภัย ส่วนกิจกรรมของชมรมคนห่วงหัวส่วนใหญ่เข้าร่วมกิจกรรม ใส่หมวกให้น้องโดยช่องทางการติดต่อกับมูลนิธิส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์/โทรสาร และใช้ Social media ส่วนใหญ่เครือข่ายจะเข้าร่วมกิจกรรมกับมูลนิธิฯ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปีใหม่ และลอยกระทง สาหรับสื่อรณรงค์ของมูลนิธิเมาไม่ขับที่ชอบมากที่สุด สติกเกอร์ โดยเหตุผลที่ชอบสติกเกอร์ เพราะง่าย ต่อการประชาสัมพันธ์เพราะเป็นแผ่นสติ๊กเกอร์ ช่วยลดคนดื่มแล้วขับได้ ช่วยเตือนใจให้คิดถึงความ ปลอดภัยติดรถยนต์เห็นชัด เป็นสื่อที่นาไปติดสื่อสารได้ทุกที่ เห็นง่าย เตือนสติ เตือนใจ ได้ตลอด มี ความคิดสร้างสรรค์ โดยเครือข่ายมองว่าเป้าหมายสาคัญในการขับเคลื่อนมูลนิธิเมาไม่ คือ การบังคับใช้ กฎหมาย ร่วมกับกิจกรรมสื่อสารรณรงค์ของมูลนิธิเมาไม่ขับ เครือข่ายส่วนใหญ่อยากให้รัฐบาลออก กฎหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์แล้วขับรถเพิ่มเติมในประเด็น บังคับใช้กฎหมายให้ เข้มข้นขึ้นและให้รุนแรงขึ้น เช่น เพิ่มค่าปรับ จับขังคุกทันที ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะสาหรับมูลนิธิเมาไม่ขับ เนื่องจากมูลนิธิเมาไม่ขับมีจุดแข็งในการดาเนินกิจกรรมเชิงนโยบายและได้รับความร่วมมือ จากภาครัฐ เช่น นายกรัฐมนตรีในการสื่อสารประชาสัมพันธ์งานรณรงค์และการขับเคลื่อนกฎหมาย 11 ตลอดปีที่ผ่านมา ทาให้ทุกภาคีทั้งภาครัฐและเอกชน สื่อมวลชนมีการนาเสนอข่าวของมูลนิธิฯให้เป็นที่ รับรู้ต่อสาธารณชนเป็นอย่างดี คณะผู้ประเมินมีข้อเสนอแนะดังนี้ 1.ทางมูลนิธิเมาไม่ขับสามารถเป็นองค์กรผู้นาในการเปลี่ยนแปลง และขับเคลื่อนนโยบายใน ระดับชาติ สอดคล้องกับทศวรรคความปลอดภัยทางถนน(นโยบายปี 2553 ถึง ปี 2563) โดยขอความ ร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคีภาคสังคม เครือข่ายด้านอุบัติเหตุที่เชื่อมโยงการทางานร่วมกัน โดยมีองค์กร สสส เป็นผู้สนับสนุนการทางานหลักอย่างต่อเนื่อง 2.มูลนิธิฯ ควรพัฒนา กลยุทธการทางาน คู่ขนาน กับองค์กรเอกชนที่มีเป้าหมายร่วมกัน โดยเฉพาะองค์กรภาคธุรกิจ เพื่อสร้างเครือข่ายองค์กรธุรกิจที่ทางานในประเด็นเมาไม่ขับ ซึ่งเป็น ประเด็นเชิงสังคมให้สอดรับกับมิติของธุรกิจที่ต้องคานึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม CSR ที่ผ่านมา อาจจะมีเพียงบางองค์กรเช่น บริษัท ปตท. จากัด (มหาชน) บริษัท วิริยะประกันภัย จากัด (มหาชน) บริษัท โตเกียวมารีนประกันภัย (ประเทศไทย) จากัด (มหาชน) บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จากัด (มหาชน) และสมาคมประกันวินาศภัยไทย เป็นต้น 3.ควรเฟ้นหาพื้นที่ใหม่ๆที่ท้าทายทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ในการสร้างต้นแบบและ อาจหาภาคีเครือข่ายในพื้นที่เดิมที่เข็มแข็ง เพื่อเป็นพี่เลี้ยง โดยเฉพาะพื้นที่หัวเมืองใหม่ๆ ที่มีแนวโน้ม เกิดอุบัติเหตุสูง โดยดึงข้อมูลจากศูนย์ปลอดภัยทางท้องถนน (ศปถ.) เนื่องจากการขยายตัวของพื้นที่ เมืองที่มีทิศทางการเติบโตเชิงเศรษฐกิจ การกระจายรายได้ การขยายตัวของความหนาแน่นในการขับขี่ จะสูงขึ้นตามมา ดังนั้นจึงควรมีการสร้างกลุ่มเครือข่ายเฝ้าระวังใหม่ๆ อาทิ จังหวัดในเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือจังหวัดที่มีการเติบโตในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เป็นต้น 4.จากจุดแข็งของมูลนิธิ ฯที่สามารถสร้างประเด็นจากสถานการณ์ของการเกิดอุบัติเหตุและ ผูกโยงกับประเด็นใหม่ๆ เช่น เมา ขับจับขัง โดยใช้กระแสการปั่นจักรยาน ดังนั้นมูลนิธิฯจึงควรมี แนวทางในการทางานที่ลงลึกและเป็นระบบในการเฝ้าระวังสื่อและการจับกระแสสังคมเพื่อผูกโยงกับ ประเด็นใหม่เพื่อใช้ในการสื่อสารสาธารณะต่อไป 5.ผลจากที่มูลนิธิเมาไม่ขับสร้าง “เพจขับงี้ได้ไง” ซึ่งมีผู้ใช้สื่อออนไลน์สามารถเข้าถึงและสร้าง การรับรู้ได้จานวนมากสอดรับกับการเติบโตของคนรุ่นใหม่ที่เข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์ มูลนิธิ ฯ จึงควรมีการวางแผนการขับเคลื่อนการณรงค์ผ่านสื่อออนไลน์และเชื่อมโยงกับสื่อกระแสหลักที่เป็นจุด แข็งของการทางานระยะที่ผ่านมา โดยดึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่สนใจการเฝ้าระวังทางออนไลน์มาเป็นภาคีใน การขับเคลื่อนให้ยั่งยืนต่อไปอีกทั้งยังสามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายในพื้นที่ได้อย่างเป็นระบบ 6.ชมรมคนห่วงหัว สามารถสร้างการรับรู้กับภาคีเครือข่ายในสถานศึกษาในระดับประถมอัน เป็นการสร้างวินัยที่ดีกับกลุ่มเด็กเล็กและพ่อแม่ผู้ปกครอง และดาเนินงานประสานกับภาคธุรกิจที่ เกี่ยวข้องในระดับหนึ่ง จึงควรมีการขยายฐานการสื่อสารผ่านเครือข่ายในสถานศึกษาระดับอื่นๆที่เป็น เป้าหมายในการขับขี่ปลอดภัยเพิ่มขึ้น เช่น ระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และมหาวิทยาลัย รวมถึง สถานประกอบการที่มีพนักงานที่ขับรถจักรยานยนต์มาทางานเป็นหลัก เพื่อสร้างการรับรู้ให้คนรู้จักใน ชื่อ และการทางานของชมรมคนห่วงหัวให้กว้างขวางขึ้น ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1. ควรมีการจัดทาคณะทางานขับเคลื่อนในมิติอุบัติเหตุทางถนน โดยให้มูลนิธิเมาไม่ขับ ทา หน้าที่เป็นแกนหลัก ในการสื่อสารกับภาครัฐในการขับเคลื่อนนโยบายที่สาคัญอันเป็นจุดคานงัดเพื่อการ ลดอุบัติเหตุในระดับชาติ ทั้งนี้ สสส. ควรมีการวางแผนเชิงปฏิบัติการที่ชัดเจน กับกลุ่มเครือข่ายองค์กร 12 ที่ทางานด้านอุบัติเหตุในฐานะ Core Group และวางกรอบการทางานและบทบาทหน้าที่อย่างมี ยุทธศาสตร์ ทั้งหน่วยงานด้านข้อมูลเฝ้าระวัง ศปถ. หน่วยงานด้านอุบัติเหตุเชิงพื้นที่ หน่วยงาน การแพทย์ฉุกเฉิน องค์กรสื่อที่ทั้งมูลนิธิเมาไม่ขับมีการสัมพันธ์ภาพเป็นอย่างดี เพื่อให้การดาเนินงาน สอดรับไปในทิศทางเดียวกัน 2. ควรมีการสังเคราะห์ข้อมูลเชิงนโยบายที่สอดรับกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของสังคมในอีก 10 ปีข้างหน้า เช่น การเปิดการค้าเสรีสู่อาเซียน การเป็นสังคมผู้สูงอายุ การเกิดสังคมเมืองและพื้นที่ กึ่งเมืองใหม่ๆ ที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุ การมีระบบขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟความเร็วสูง มูลนิธิเมา ไม่ขับ และ สสส. จะมีแนวทางในการตั้งรับในการรณรงค์ในกับประเด็นต่างเหล่านี้ในอนาคต สานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ จากการศึกษาการดาเนินงานของสานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) ใน “โครงการ ประเมินผลแผนงานมูลนิธิเมาไม่ขับ มูลนิธิเมาไม่ขับ และสานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ” ซึ่งมี ระยะเวลาดาเนินการ 1 ปี (มิ.ย.58 – พ.ค.59) ทีมประเมินได้เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการแจกแบบสอบถาม (Questionnaires) วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-Depth Interview) กับกลุ่มเป้าหมาย และการสังเกตการณ์กิจกรรม รณรงค์ของสานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ โดยการลงพื้นที่ทั้ง 4 ภาค ทั่วประเทศ ได้แก่ ภาคเหนือ (จ.สุโขทัย) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จ.ขอนแก่น) ภาคกลาง (จ.ระยอง) และภาคใต้ (จ.ตรัง) ผลการติดตามประเมินผลแบ่งเป็น 4 ส่วน ดังต่อไปนี้คือ ส่วน 1: ปัจจัยที่เอื้อต่อความสาเร็จ สานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) มีปัจจัยที่เอื้อต่อความสาเร็จ อันได้แก่ ความมีชื่อเสียง ขององค์กร ความชานาญของบุคลากรทางด้านสาธารณสุข และ ภาคีเครือข่ายในระดับภูมิภาค ท้องถิ่น ที่เข้มแข็งที่ได้ร่วมมือปฏิบัติงานกันมายาวนานในการจัดตั้งสร้างองค์กรและภาคีเครือข่ายมาอย่าง ต่อเนื่อง จากการดาเนินงานในปีที่ผ่านมาพบว่าเกิดการตื่นตัวทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ ที่จะผลักดันให้เกิดกลไกการจัดการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับสื่อมวลชน ได้มีการนาเสนอข้อมูลข่าวสาร เกาะติดสถานการณ์ ข่าวการเกิดอุบัติเหตุทางถนนโดยทางสคอ.ได้ ประสานงานกับเครือข่ายดังกล่าวอย่างเข้มแข็ง ดังนั้นการเสริมบทบาทสื่อมวลชนในการผลักดัน ประเด็นสาธารณะจึงเป็นเรื่องที่ควรทาอย่างต่อเนื่อง ส่วนที่ 2: กระบวนการดาเนินงานตามยุทธศาสตร์ 1.ศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลความปลอดภัยทางถนนเพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์แก่ประชาชน และภาคีเครือข่ายในภูมิภาคทั่วประเทศ และเปิด โอกาสให้สามารถใช้ประโยชน์จาก Website ได้อย่างเต็มที่ 2.ขับเคลื่อนการรณรงค์เชิงรุกอย่างต่อเนื่องมีการจัดการประชุมสร้างความร่วมมือภาคี เครือข่ายสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อความปลอดภัยทางถนน 4 ภาคทั่วประเทศ ได้แก่ ภาคเหนือ (จ. 13 สุโขทัย) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จ.ขอนแก่น) ภาคกลาง (จ.ระยอง) และภาคใต้ (จ.ตรัง) ทาให้ เครือข่ายตื่นตัวในการทางานร่วมกันและร่วมขยายผลในการรณรงค์เพื่อลดอุบัติเหตุ 3.พัฒนาคุณภาพผลิต และกระจายสื่อมีการดาเนินการเผยแพร่สื่อรณรงค์อย่างกว้างขวาง มี การพัฒนาสื่อรณรงค์อย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ และเปิดโอกาสให้ภาคีเครือข่าย และประชาชนผู้สนใจ สามารถ Download สื่อรณรงค์ใน Website ของ สคอ.อย่างกว้างขวาง ได้แก่ 1) Banner (ป้าย ประชาสัมพันธ์) 2) Logo (ตราสัญลักษณ์หน่วยงาน) 3) Presentation (สื่อนาเสนอpowerPoint) 4) Radio Spot (สื่อสปอตวิทยุ) 5) Sticker 6) Spot Video (108วิธีขับขี่ปลอดภัย) 7) Pop up (ป้ายมือ ถือขับขี่ปลอดภัย) และการพัฒนา Website และ Upload ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะๆ 4.สนับสนุนการทางานร่วมกับภาคีเครือข่าย มีการทางานร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน มีการจัดกิจกรรมรณรงค์สื่อสารประชา สัมพันธ์อย่างต่อเนื่องทั้งในและนอกเทศกาล อาทิ การประชุมสร้างความร่วมมือภาคีเครือข่ายสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ สมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย, สมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาค แห่งประเทศไทย (สนทพ), สมาคมวิทยุสื่อ “ช่อสะอาด”,และบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จากัด เป็นต้นโดยมีผู้มาร่วมงานเป็นจานวนมากและมีการทางานร่วมกับสื่อมวลชนท้องถิ่นเช่นวิทยุ ชุมชนทาให้สามารถเข้าถึงคนในแต่ละภูมิภาคได้ ส่วนที่ 3: ประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของการรณรงค์ของสานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ ประเมินผลลัพธ์ของการรณรงค์ของสานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ จากการสารวจกลุ่มตัวอย่างที่เป็นภาคีเครือข่ายของสานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุจานวน 83 คน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จานวน 52 คน คิดเป็นร้อยละ 62.7 เพศหญิง จานวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 37.3 มีอายุเฉลี่ย 41 ปี เมื่อแบ่งช่วงอายุของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีอายุระหว่าง 41 – 50 ปี มากที่สุดจานวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 39.8 ประกอบ อาชีพพนักงานเอกชนมากที่สุด จานวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 38.6 มีระดับการศึกษาขั้นปริญญาตรี มากที่สุด จานวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 66.7 ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นภาคีเครือข่ายในภาคส่วนของ เครือข่ายวิทยุชุมชน “ช่อสะอาด” มากที่สุด จานวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 31.3 ผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นภาคีเครือข่ายที่ปฏิบัติงานกับสานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ 1 ปี มากที่สุด จานวน 16 คน คิดเป็น ร้อยละ 35.6 ติดต่อประสานงานกับสานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ ผ่านช่องทางการประชุม/มาพบที่ สานักงาน จานวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 36.4 เคยร่วมกิจกรรมกับสานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ จานวน 2 ครั้ง มากที่สุด จานวน 18 คน ผู้ตอบแบบสอบถามเคยเข้าร่วมกิจกรรมการรณรงค์ของ สานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ มากที่สุด จานวน 75 คน คิดเป็นร้อยละ 48.38 ผู้ตอบแบบสอบถามเข้าร่วมกิจกรรมของสานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ ในปี 2558 – 2559 การ ประชุมสร้างความร่วมมือภาคีเครือข่ายสื่อสารประชาสัมพันธ์ เพื่อความปลอดภัยทางถนน ณ โรงแรม สุโขทัยเฮอริเทจรีสอร์ท จ.สุโขทัย มากที่สุด จานวน 38 คน ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าเป้าหมายสาคัญ ในการขับเคลื่อนสานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ ในมุมมองของภาคี/เครือข่าย ของสานักงานลด อุบัติเหตุ (สคอ.) คือการบังคับใช้กฎหมาย มากที่สุด จานวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 56.9 14 จากการสารวจกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนทั่วไปจานวน 300 คน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม ของสานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จานวน 161 คน คิดเป็นร้อยละ 53.7 มีอายุ เฉลี่ย 30 ปี โดยมีอายุต่าสุด 13 ปี และสูงสุด 85 ปี เมื่อแบ่งช่วงอายุของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีอายุ 21 - 30 ปี มากที่สุดจานวน 153 คน คิดเป็นร้อยละ 51.7 ประกอบอาชีพ พนักงานเอกชนมากที่สุด จานวน 174 คน คิดเป็นร้อยละ 58 มีระดับการศึกษาชั้นปริญญาตรีมากที่สุด จานวน 170 คน คิดเป็นร้อยละ 56.7 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะ เดินทางในชีวิตประจาวัน จานวน 147 คน ผู้ตอบแบบสอบถามจะนึกถึงกิจกรรมการรณรงค์เพื่อลด อุบัติเหตุทางถนนจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของสานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ(สคอ.) มากที่สุด จานวน 170 คน คิดเป็นร้อยละ 56.7 เคยพบเห็น/รับรู้สื่อรณรงค์ของสานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) มากที่สุด จานวน 159 คน คิดเป็นร้อยละ 53 เคยรับรู้สื่อรณรงค์ประเภทสติกเกอร์มากที่สุด จานวน 82 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 51.89 ของการเลือกทั้งหมด ผู้ตอบแบบสอบถามเคยพบเห็น/รับรู้ กิจกรรมการรณรงค์ของสานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ(สคอ.) จานวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 28.5 ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความคิดเห็นที่มีผลต่อคนในครอบครัว ชุมชน หรือสังคมในเรื่องทุกเรื่องมีค่าเฉลี่ย อยู่ในจานวนปานกลางที่ใกล้เคียงกัน ส่วนที่ 4 : ประเมินการเรียนรู้ในการประสานงานองค์กร การแก้ปัญหา การประสานงานภาคีและ การสร้างการมีส่วนร่วมของสานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ กิจกรรมโดดเด่นด้านการพัฒนาเครือข่ายฯ คือ“การประชุมสร้างความร่วมมือภาคีเครือข่าย สื่อสารประชาสัมพันธ์ เพื่อความปลอดภัยทางถนน”4 ภาคทั่วประเทศ ได้แก่ ภาคเหนือ (จ.สุโขทัย) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จ.ขอนแก่น) ภาคกลาง (จ.ระยอง) และภาคใต้ (จ.ตรัง) ซึ่งสามารถสื่อสาร โดยตรงกับภาคีเครือข่ายในท้องถิ่นได้จากการประชุมนี้ คาดว่าจะช่วยกระตุ้นสื่อท้องถิ่น ให้รับรู้และ ขับเคลื่อนการรณรงค์สื่อสารประชาสัมพันธ์เชิงรุก การวิเคราะห์ภาคีเครือข่ายฯ ของสานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ สานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) มีการทางานร่วมกับภาคีเครือข่ายสื่อสาร ประชาสัมพันธ์หลัก 4 องค์กรหลัก คือ 1. บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จากัด บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จากัดถือเป็นภาคีเครือข่ายฯหลักที่ทางานขับเคลื่อน ร่วมกับสานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) สร้างความร่วมมือด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ ขับเคลื่อนนโยบายทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน และผลักดันให้มีการดาเนินงานเชื่อมประสาน กลไกการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนระดับจังหวัดและระดับประเทศอย่างต่อเนื่องถือเป็นภาคี เครือข่ายหลักที่ทางานสอดประสานกับ สคอ. อย่างใกล้ชิด มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร กันอย่างต่อเนื่อง เป็นภาคีเครือข่ายฯที่มีการพัฒนาสื่อ Online เชื่อมโยงข้อมูลอุบัติเหตุในลักษณะ Real Time สามารถนามาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ยังมีการพัฒนาหน่วยงานต้นแบบด้าน ความปลอดภัย อาทิ หน่วยงานต้นแบบด้านการสวมหมวกนิรภัย 100% เป็นต้น นับเป็นภาคีเครือข่ายที่ มีความสาคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยของ สคอ. 15 2. สมาคมสื่อ “ช่อสะอาด” สมาคมสื่อ“ช่อสะอาด” เข้ามาทางานร่วมกับสานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) ในแง่ ของการเป็นสื่อทางอากาศ เพื่อเผยแพร่สื่อสารการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ทางวิทยุกระจายเสียง คลื่นวิทยุชุมชน ซึ่งกระจายอยู่ในภูมิภาคทั่วประเทศ และเป็นช่องทางให้สคอ.เผยแพร่ข้อมูลผ่าน รายการ“คลื่นชุมชน ถนนปลอดภัย”สื่อสารประชาสัมพันธ์ด้านความปลอดภัยทางถนน สร้างการรับรู้ ให้กับประชาชนในชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ 3. สมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย สมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทยถือเป็นภาคีเครือข่ายฯหลักที่ทางานร่วมกับสานักงาน เครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) มาระยะหนึ่งแล้ว โดยเริ่มจากการทางานร่วมกับสานักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ร่วมกันผลิตสื่อรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้กับ สสส. มีสโลแกน ว่า “คนสร้างสื่อ ... สื่อสร้างสุข” และร่วมสร้างเสริมสุขภาวะสู่ชุมชน ในส่วนของการทางานร่วมกับ สคอ. ได้ร่วมในการรณรงค์สื่อสารประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการลดอุบัติเหตุทางถนน โดยเป็นช่องทางใน การกระจายสื่อรณรงค์ เผยแพร่สู่สาธารณะ รับข่าวสารข้อมูลจากสคอ. เพื่อนาไปเผยแพร่ และกาลัง ทดลองออกอากาศรายการ “สื่อสร้างสุขทีวี” เป็นต้น 4. สมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย (สนพท.) สมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย (สนพท.)ถือเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ที่มีสมาชิก กว่า 2,000 คน ถือเป็นภาคีเครือข่ายฯหลักอีกองค์กรหนึ่ง ได้ใช้พลังของสื่อมวลชนที่กระจายอยู่ทั่ว ประเทศ สร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชน เพื่อลดอุบัติเหตุทางถนน นอกจากนั้นยังมีการทางานร่วมกับภาคีเครือข่ายฯ อื่นๆ อีก อาทิ อาสาสมัครประชาสัมพันธ์ เพื่อความปลอดภัยทางถนน (อสป.)แผนงานสนับสนุนการดาเนินงานป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับ จังหวัด (สอจร.)ฯลฯ เป็นต้น ข้อเสนอแนะสาหรับการทางานของ สคอ.มีดังต่อไปนี้ 1. สคอ.ได้ทางานเข้มแข็งกับภาคีสื่อมวลชนทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น ในเรื่องการ ขับเคลื่อนประเด็นลดอุบัติเหตุ แต่เพื่อให้สามารถขยายผลในระดับภูมิภาคมากขึ้นควรเสริมบทบาทให้ สื่อมวลชนในระดับภูมิภาคมีเวทีในการแสดงความคิดเห็นหรือกาหนดวาระข่าวสารด้านอุบัติเหตุที่สาคัญ ในแต่ละภูมิภาคและร่วมขยายผลการดาเนินงานรณรงค์โดยใช้สื่อประชาสัมพันธ์ทางเว็บไซต์และ นาเสนออย่างต่อเนื่องให้คนในท้องถิ่นเกิดความตื่นตัวในการลดอุบัติเหตุ 2. การทางานในปีถัดไปอาจเป็นการทางานร่วมกับอบจ. หรือผู้ใหญ่บ้าน เพื่อแสวงหาปัจจัย เสี่ยง จุดเสี่ยงและวิธีการรณรงค์ลดอุบัติเหตุที่เหมาะสมในแต่ละภูมิภาค ซึ่งสื่อที่ใช้อาจเป็นสื่อในระดับ ท้องถิ่นที่ชาวบ้านนิยมเปิดรับและง่ายสาหรับชาวบ้านเข้าใจได้ 3. จากการร่วมสังเกตการณ์เห็นว่า หน่วยงานต่างๆ ในระดับภูมิภาค รวมทั้งสถานศึกษา ต่างๆ ได้ตระหนักถึงความสาคัญของการลดอุบัติเหตุและการสวมหมวกนิรภัย แต่การทางานยังกระจัด กระจายและขาดการบูรณาการ หากในปึถัดไปสามารถนาโครงการของหน่วยงานเหล่านี้มาเผยแพร่ทาง สื่อเว็บไซต์ก็จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและองค์กรท้องถิ่นต่างๆเพื่อสามารถศึกษาเรียนรู้จาก ประสบการณ์ของแต่ละท้องถิ่นได้ |
|||
|