หน้าแรก เข้าสู่ระบบ
       ปีการศึกษาที่นำเสนอ


       ปีงบประมาณ


       นักวิจัย
เส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
The Career Advancement Paths of Faculty Members in Private Higher Education Institutions
นักวิจัย  ประสิทธชัย เดชขำ
ปีงบประมาณ  2556
ปีที่นำเสนอ  2556
บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่อง เส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนที่มีต่อระดับความสำคัญและระดับการส่งเสริมความก้าวหน้าในอาชีพ 2) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติในการส่งเสริมและสนับสนุนและระดับความสำเร็จ/บรรลุผลในการส่งเสริมและสนับสนุนความก้าวหน้าในสายอาชีพ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความสำคัญของความก้าวหน้าในอาชีพอาจารย์กับระดับการส่งเสริมความก้าวหน้าในอาชีพของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการปฏิบัติในการส่งเสริมและสนับสนุนความก้าวหน้าในสายอาชีพของอาจารย์กับระดับความสำเร็จ/บรรลุผลในการส่งเสริมและสนับสนุนความก้าวหน้าในสายอาชีพของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามโดยแบ่งออกเป็น 2 ชุด ชุดแรกเป็นแบบสอบถามสำหรับฝ่ายทรัพยากรบุคคล ส่วนชุดที่สองสำหรับอาจารย์ผู้สอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคืออาจารย์และผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคลของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ผลการวิจัยพบว่า

1.ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่าฝ่ายบุคคลส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาโท มีประสบการณ์ทำงานในสถาบันอุดมศึกษา 5-10 ปี สำหรับข้อมูลทั่วไปของอาจารย์ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาโท เงินเดือนอยู่ในช่วง 15,001-20,000 บาท มากที่สุด และส่วนใหญ่อาจารย์ยังไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ

2.การส่งเสริมและสนับสนุนความก้าวหน้าในสายอาชีพของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

2.1ระดับความสำคัญและระดับการส่งเสริมสนับสนุนความก้าวหน้าในสายอาชีพของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนอาจารย์เห็นว่าการส่งเสริมอาชีพมีระดับความสำคัญต่อความก้าวหน้าของอาจารย์อยู่ในระดับมาก  แต่ในการปฏิบัติจริงมีการส่งเสริมอยู่ในระดับปานกลาง  

2.2ระดับการปฏิบัติและระดับความสำเร็จหรือบรรลุผลการส่งเสริมและสนับสนุนความก้าวหน้าในสายอาชีพของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พบว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง และมีความสำเร็จ/บรรลุผลอยู่ในระดับปานกลาง เช่นเดียวกัน

3.ความสำคัญของความก้าวหน้าในสายอาชีพสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับการส่งเสริมและสนับสนุนความก้าวหน้าในอาชีพของอาจารย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

4.ระดับการปฏิบัติในการส่งเสริมและสนับสนุนความก้าวหน้าในสายอาชีพอาจารย์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับความสำเร็จ/บรรลุผลในการส่งเสริมและสนับสนุนความก้าวหน้าในสายอาชีพของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

คำสำคัญ.เส้นทางอาชีพ, อาจารย์มหาวิทยาลัย, อาชีพอาจารย์

The research entitled “The Career Advancement Paths of Faculty Members in Private Higher Education Institutions” was a survey research of which objectives are to 1. study the faculty members’ opinions towards levels of significance and advance in career paths, 2. study the levels of action in supporting and promoting success and advance in career paths, 3.  study the relationship between the advance and supporting in career paths of the faculty members, and 4. study the relationship between the action in supporting and promoting success and advance in career paths of faculty members in private higher education institutions.  

The research instruments were 2 sets of questionnaires; one for the faculty operating staff and the other for teaching staff. The samples used in the study were teaching staff and personnel administrators of private higher education institutions.  The results of the study are as follows:

1.The majority of personnel administrators held a Master Degree and worked for those institutions from 5 to 10 years.  The majority of teaching staff had a Master Degree and their salaries were between 15,000 baht and 20,000 baht.  Most of them had no academic ranks and titles.

2.Promoting and supporting the advance in career paths of teaching staff in private higher education institutions;

2.1The level of promoting and supporting the advance in career paths of teaching staff was high, but the level of action in promoting and supporting the advance in career paths was moderate.

2.2 The levels of action and achievement in the advance in career paths were both moderate.

3.The advance of career paths were positively related to promoting and supporting with a significantly figure at 0.05

4.The level of action in promoting and supporting the advance in career paths of teaching staff were positively related to level of achievement in career paths with a significant figure at 0.05.

Key Words: Career paths, university teaching staff, teaching profession

 เอกสารแนบ
      1. careerpart