การตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องดื่มประเภทฟังก์ชันนัลดริ้งก์ของวัยรุ่นตอนปลายในเขตเทศบาลนครลำปาง อำเภอเมืองจังหวัดลำปาง The late teenagers? decision making on selecting a functional drink in the area of Lampang municipality, Muang district, Lampang province |
|||||||
บทคัดย่อ การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องดื่มประเภทฟังก์ชันนัลดริ้งก์ของวัยรุ่นตอนปลาย ในเขตเทศบาลนครลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยเน้นการศึกษาตามทฤษฎีการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค และระดับความคิดเห็นของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้บริโภค กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้บริโภควัยรุ่นตอนปลายที่อยู่ในเขตเทศบาลนครลำปาง จำนวน 360 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ หาค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้ค่าสถิติ ANOVA ผลการศึกษาปรากฏ ดังนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ใน 1 สัปดาห์ ดื่มเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลดริงก์ 2-3 ครั้ง เครื่องดื่มฟังก์ชันนัลดริงก์ที่ผู้บริโภคซื้อบริโภคส่วนใหญ่ และซื้อบริโภคบ่อยที่สุด คือ B-ing สถานที่ผู้บริโภคซื้อเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลดริงก์ คือ ร้านสะดวกซื้อ ในหนึ่งสัปดาห์ผู้บริโภคดื่มเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลดริงก์จำนวน 2-3 ครั้ง ส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลดริงก์ คือ ตัดสินใจด้วยตัวเอง ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลดริงก์จากสื่อโทรทัศน์ ลักษณะการจัดรายการส่งเสริมการขายที่ผู้บริโภคชอบ มีของแถมพร้อมสินค้า วัตถุประสงค์ที่ทำให้เลือกดื่มเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลดริงก์เพื่อเติมพลังงานให้แก่ร่างกาย และจะแนะนำบุคคลอื่นมารับประทานเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลดริงก์ ในการศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาด พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ ความสำคัญต่อทุกปัจจัยในระดับมาก ตามลำดับดังนี้ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยย่อยอันดับแรกคือ ผลิตภัณฑ์มีคุณค่าทางโภชนาการ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยย่อยอันดับแรกคือ ราคามีให้เลือกหลากหลายตามขนาดของผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านการจัดจำหน่าย ปัจจัยย่อยอันดับแรกคือ มีจำหน่ายตามสถานที่ออกกำลังกาย ทั่วไป และปัจจัยด้านการส่งเสริมการขายปัจจัยย่อยอันดับแรกคือ เป็นสปอนเซอร์ในรายการโทรทัศน์ต่างๆ ตามลำดับ |
|||||||
เอกสารแนบ
|
|||||||
|