หน้าแรก เข้าสู่ระบบ
ประเพณีฟ้อนผีของชาวล้านนา

           ประเพณีฟ้อนผีมด-ผีเม็ง คือประเพณีการฟ้อนผีของชาวล้านนา คล้ายกับการลงผี (เข้าทรง) ผีเจ้าพ่อของท้องถิ่นอื่น นิยมเรียกกันว่า "ฟ้อนผีมด-ผีเม็ง" ประเพณีฟ้อนผีมด-ผีเม็ง เป็นการฟ้อนรำเพื่อสังเวยผีบรรพบุรุษ ซึ่งชาวล้านนา (ชาวบ้านในท้องถิ่นภาคเหนือ) นับถือกัน เป็นพระเพณีเก่าแก่ที่สันนิษฐานกันว่ารับมาจากชาวมอญ เพราะคำว่า "เม็ง" ภาษาล้านนาหมายถึงชาวมอญ การแต่งกายของผู้เข้าร่วมพิธีก็จะคล้ายกับชาวมอญ ประเพณีฟ้อนผีมด-ผีเม็งนี้ จะจัดกันภายในสายตระกูล ตามคติความเชื่อของชาวล้านนา คนเราจะมีผีบรรพบุรุษ (บางครั้งเรียก ผีปู่ย่า หรือ เจ้าปู่เจ้าย่า) ซึ่งหมายถึงปีผู่ย่าตายายญาติผู้ใหญ่ในวงศ์ตระกูลที่เสียชีวิตไปแล้ว ยังคอยปกปักรักษาคุ้มครองลูกหลานในวงศ์ตระกูล ความหมายในอีกแง่หนึ่ง "ผีมด" หมายถึงผีระดับชาวบ้าน สืบเชื้อสายจากชาวไทใหญ่ ส่วนผีเม็ง หมายถึงผีระดับแม่ทัพนายกอง สืบเชื้อสายจากชาวมอญ ลูกหลานจะทำที่สถิตย์ของผีบรรพบุรุษที่เรียกว่า "หอผี" ไว้ทางทิศหัวนอนของบ้านผู้เป็น"เก๊าผี" หมายถึงผู้หญิงที่เป็นใหญ่ที่สุดในวงศ์ตระกูล ด้วยเหตุนี้เมื่อถึงเวลาอันสมควร ก็จะต้องจัดพิธีเพื่อสังเวยผีบรรพบุรุษ อาจจะจัดเป็นรอบทุกๆ 2 ปี หรือ 3 ปี แล้วแต่จะกำหนด

 เอกสารแนบ
      1. ประเพณีฟ้อนผีมด.docx